สำหรับพื้นที่สาธารณะและสถานประกอบการต่าง ๆ ความปลอดภัยของผู้ใช้งานถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ การออกแบบสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของค่าแสงสว่างที่ช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็น จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน หรือปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับสายตา เช่น ความเมื่อยล้าของดวงตา หรืออาการปวดตาในระยะยาวได้
ในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับความหมายและความสำคัญของค่าแสงสว่าง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มของแสงสว่าง รวมถึงอุปกรณ์ในการตรวจวัดและค่าความสว่างมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับสถานประกอบการ
ค่าแสงสว่าง คืออะไร?
ค่าแสงสว่าง หรือ ความเข้มของแสงสว่าง อ้างอิงจากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ได้ให้นิยามของ “ความเข้มของแสงสว่าง” เอาไว้ว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร โดยใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (lux)
โดยค่าลักซ์จะช่วยในการระบุว่าปริมาณของแสงสว่างในพื้นที่นั้น ๆ มีมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อนำไปใช้ในการเลือกหลอดไฟหรือแหล่งกำเนิดแสงที่มีความสว่างเพียงพอต่อการใช้งาน
ความสำคัญของค่าแสงสว่าง
ค่าแสงสว่างนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันและการใช้งานในหลากหลายพื้นที่ เพราะแสงสว่างที่เหมาะสมจะช่วยให้การทำงานในแง่ต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
การมองเห็นและความปลอดภัย
ค่าแสงสว่างที่เพียงพอจะช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน ลดความเมื่อยล้าของดวงตา และป้องกันปัญหาสายตาต่าง ๆ อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือการก่ออาชญากรรมในพื้นที่ที่มีความเปลี่ยวและมีแสงน้อย ยกตัวอย่าง การขับขี่รถยนต์บนท้องถนน แสงสว่างที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการมองเห็นที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยบนท้องถนน การตรวจสอบระบบไฟส่องสว่างของรถยนต์ให้ได้ค่ามาตรฐานแสงสว่างที่ถูกต้อง รวมถึงตรวจเช็กสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก ที่ ศูนย์นิสสัน มีช่างผู้เชี่ยวชาญพร้อมดูแลครบวงจร เมื่อสภาพรถพร้อม จะช่วยให้การเดินทางของคุณราบรื่นและปลอดภัย และถือเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี
ประสิทธิภาพในการทำงาน
การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างเพียงพอ จะช่วยเพิ่มสมาธิและลดความผิดพลาด ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การออกแบบและติดตั้งแหล่งกำเนิดแสง
การวัดค่าแสงสว่างมาตรฐาน เป็นขั้นตอนสำคัญในการออกแบบและติดตั้งแหล่งกำเนิดแสง ช่วยให้ได้แสงสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาได้อย่างแม่นยำ
ปัจจัยที่มีผลต่อค่าแสงสว่าง
ในแต่ละสภาพแวดล้อมจะมีความเข้มของแสงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
แหล่งกำเนิดแสง
ชนิดของหลอดไฟ
หลอดไฟแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการให้แสงที่แตกต่างกัน โดยหลอด LED มักให้ค่าแสงสว่างสูงกว่าหลอดไส้หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ในกำลังไฟฟ้าที่เท่ากัน ทำให้ได้แสงสว่างที่ส่องสว่างกว่าและชัดเจนกว่า
กำลังไฟฟ้า
โดยทั่วไปแล้ว กำลังไฟฟ้าของหลอดไฟจะสัมพันธ์กับความเข้มของแสงสว่างที่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ากำลังไฟฟ้าสูง ความเข้มแสงจะสูงขึ้นเสมอไป ตัวอย่างเช่น หลอด LED กำลังไฟฟ้า 10 วัตต์ อาจให้ความเข้มแสง เทียบเท่ากับหลอดไส้กำลังไฟฟ้า 60 วัตต์ได้
อายุการใช้งาน
หลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะมีความเข้มแสงลดลง ในขณะที่หลอด LED จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ามาก และความเข้มแสงจะลดลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่น
ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดแสงและมุมกระจายแสง
ตามกฎกำลังสองผกผัน ยิ่งเราอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากขึ้นเท่าไร ความเข้มแสงก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ หากแหล่งกำเนิดแสงมีมุมกระจายแสงแคบ แสงจะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณที่แคบ ทำให้จุดศูนย์กลางมีความเข้มแสงสูง แต่บริเวณรอบข้างจะค่อย ๆ มืดลง
สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมภายในห้อง
การทาสีผนังห้องด้วยสีโทนสว่างอย่างสีขาวหรือสีโทนอ่อน จะช่วยในการสะท้อนแสงและช่วยให้ห้องสว่างขึ้น ตรงกันข้าม หากเลือกใช้สีโทนเข้มสำหรับผนังหรือเพดาน จะดูดซับแสงและทำให้ห้องดูมืดลง ซึ่งรวมถึงสีของเฟอร์นิเจอร์ที่ส่งผลต่อการสะท้อนแสงด้วยเช่นกัน
สภาพแวดล้อมภายนอก
แสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความสว่างภายในห้อง ดังนั้น การวัดค่าความสว่างเพื่อเลือกหลอดไฟที่เหมาะสม จึงควรทำ ในช่วงเวลาที่แสงธรรมชาติคงที่ เช่น ตอนเช้าตรู่หรือช่วงเย็นที่แสงแดดอ่อนลง เพื่อให้ได้ค่าความสว่างที่แม่นยำและสามารถนำไปเปรียบเทียบกับค่าความสว่างที่ต้องการได้
เครื่องมือวัดค่าแสงสว่าง หรือ ความเข้มของแสงสว่าง
การวัดความเข้มของแสงสว่างในแต่ละพื้นที่จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ลักซ์มิเตอร์” (Lux Meter) โดยหลักการทำงานของลักซ์มิเตอร์จะทำการวัดปริมาณแสงที่ตกกระทบยังเซนเซอร์ที่อยู่ในพลาสติกสีขาว และแปลงสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นจึงนำสัญญาณไฟฟ้านี้ไปประมวลผลและแสดงผลเป็นค่าความสว่างในหน่วยลักซ์ (lux) บนหน้าจอแสดงผล วิธีการใช้งานคือการหันเซนเซอร์ไปยังจุดที่ต้องการวัดแสง โดยให้เซนเซอร์ตั้งฉากกับทิศทางของแสงที่ตกกระทบ
การใช้ลักซ์มิเตอร์จำเป็นต้องมีการนำเครื่องไปสอบเทียบเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่าค่าที่อ่านได้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ การสอบเทียบจะช่วยป้องกันข้อผิดพลาดในการวัด ซึ่งอาจส่งผลต่อการประเมินสภาพแสงสว่างที่ถูกต้องและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพได้
ตารางค่าความสว่าง Lux ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง “มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง” ระบุให้สถานประกอบกิจการ มีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามตาราง ดังต่อไปนี้
ค่ามาตรฐานแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
(ลักซ์) | (ลักซ์) | |||
บริเวณพื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจรของบุคคล หรือ ยานพาหนะในภาวะปกติ และบริเวณที่มีการสัญจรใน ภาวะฉุกเฉิน | ทางสัญจรในภาวะ ฉุกเฉิน | ทางออกฉุกเฉิน เส้นทางหนีไฟ บันไดทางฉุกเฉิน (กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไฟดับ โดยวัดตามเส้นทางของ ทางออกที่ระดับพื้น) | 10 | – |
ภายนอกอาคาร | ลานจอดรถ ทางเดิน บันได | 50 | 25 | |
ประตูทางเข้าใหญ่ของสถานประกอบกิจการ | 50 | – | ||
ภายในอาคาร | ทางเดิน บันได ทางเข้าห้องโถง | 100 | 50 | |
ลิฟต์ | 100 | – | ||
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ทั่วไป | ห้องพักฟื้นสำหรับการปฐมพยาบาล ห้องพักผ่อน | 50 | 25 | |
ป้อมยาม | 100 | – | ||
– ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า – ห้องล็อบบี้หรือบริเวณต้อนรับ – ห้องเก็บของ | 100 | 50 | ||
โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร ห้องตรวจรักษา | 300 | 150 | ||
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในสำนักงาน | – ห้องสำนักงาน ห้องฝึกอบรม บรรยาย ห้องสมุด – ถ่ายเอกสาร – ห้องคอมพิวเตอร์ ประชุม – บริเวณประชาสัมพันธ์ หรือติดต่อลูกค้า – พื้นที่ออกแบบ เขียนแบบ | 300 | 150 | |
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตหรือการปฏิบัติงาน | ห้องเก็บวัตถุดิบ บริเวณห้องอบหรือห้องทำให้แห้งของโรงซักรีด | 100 | 50 | |
– จุด/ลานขนถ่ายสินค้า – คลังสินค้า – โกดังเก็บของไว้เพื่อการเคลื่อนย้าย – อาคารหม้อน้ำ – ห้องควบคุม – ห้องสวิตช์ | 200 | 100 | ||
– บริเวณเตรียมการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ – บริเวณพื้นที่บรรจุภัณฑ์ – บริเวณกระบวนการผลิต/บริเวณที่ทำงานกับเครื่องจักร – บริเวณการก่อสร้าง การขุดเจาะ การขุดดิน – งานทาสี | 300 | 150 |
ค่ามาตรฐานแสงสว่างบริเวณที่ลูกจ้างต้อง โดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
ค่าความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) | |||
งานหยาบ | งานที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีความแตกต่างของสีชัดเจนมาก | – งานหยาบที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่า 750 ไมโครเมตร (0.75 มิลลิเมตร) | 200 – 300 |
– การตรวจงานหยาบด้วยสายตา การประกอบ การนับ การตรวจเช็กสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ – การรีดเส้นด้าย – การอัดเบล การผสมเส้นใย หรือการสางเส้นใย – การซักรีด ซักแห้ง การอบ – การปั๊มขึ้นรูปแก้ว เป่าแก้ว และขัดเงาแก้ว – งานตี และเชื่อมเหล็ก | |||
งานละเอียดเล็กน้อย | งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง สามารถมองเห็นได้และมีความแตกต่างของสีชัดเจน | – งานรับจ่ายเสื้อผ้า | 300 – 400 |
– การทำงานไม้ที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง | |||
– งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง | |||
– งานเจาะรู ทากาว หรือเย็บเล่มหนังสือ งานบันทึกและคัดลอกข้อมูล | |||
– งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และล้างจาน – งานผสมและตกแต่งขนมปัง – การทอผ้าดิบ | |||
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสี ปานกลาง | – งานประจำในสำนักงาน เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม | 400 – 500 | |
– การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 125 ไมโครเมตร (0.125 มิลลิเมตร) | |||
– งานออกแบบและเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | |||
– งานประกอบรถยนต์และตัวถัง – งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก | |||
– การทำงานไม้อย่างละเอียดบนโต๊ะหรือที่เครื่องจักร – การทอผ้าสีอ่อน ทอละเอียด – การคัดเกรดแป้ง – การเตรียมอาหาร เช่น การทำความสะอาด การต้มฯ – การสืบด้าย การแต่ง การบรรจุในงานทอผ้า | |||
งานละเอียดปานกลาง | งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีบ้าง และต้องใช้สายตาในการทำงานค่อนข้างมาก | – งานระบายสี พ่นสี ตกแต่งสี หรือขัดตกแต่งละเอียด | 500 – 600 |
– งานพิสูจน์อักษร | |||
– งานตรวจสอบขั้นสุดท้ายในโรงผลิตรถยนต์ | |||
– งานออกแบบและเขียนแบบ โดยไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ – งานตรวจสอบอาหาร เช่น การตรวจอาหารกระป๋อง – การคัดเกรดน้ำตาล | 600 – 700 | ||
งานละเอียดสูง | งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมาก | – การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 25ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร) – งานปรับเทียบมาตรฐานความถูกต้องและความแม่นยำของอุปกรณ์ – การระบายสี พ่นสี และตกแต่งชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดมากหรือต้องการความแม่นยำสูง – งานย้อมสี | 700 – 800 |
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมากและใช้เวลาในการทำงาน | – การตรวจสอบ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ – การตรวจสอบและตกแต่งสิ่งทอ สิ่งถัก หรือเสื้อผ้าที่มีสีอ่อนขั้นสุดท้ายด้วยมือ – การคัดแยกและเทียบสีหนังที่มีสีเข้ม – การเทียบสีในงานย้อมผ้า – การทอผ้าสีเข้ม ทอละเอียด – การร้อยตะกร้อ | 800 – 1,200 | |
งานละเอียดสูงมาก | งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมาก หรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน | – งานละเอียดที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่า 25 ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร) – งานตรวจสอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก – งานซ่อมแซม สิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีอ่อน – งานตรวจสอบและตกแต่งชิ้นส่วนของสิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีเข้มด้วยมือ – การตรวจสอบและตกแต่งผลิตภัณฑ์สีเข้มและสีอ่อนด้วยมือ | 1,200 – 1,600 |
งานละเอียดสูงมากเป็นพิเศษ | งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและมีความแตกต่างของสีน้อยมาก หรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก หรือใช้ทักษะและความชำนาญสูง และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน | – การปฏิบัติงานตรวจสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ – การเจียระไนเพชร พลอย การทำนาฬิกาข้อมือสำหรับกระบวนการผลิตที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ – งานทางการแพทย์ เช่น งานทันตกรรม ห้องผ่าตัด | 2,400 หรือมากกว่า |
ค่ามาตรฐานแสงสว่างบริเวณที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน โดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน
พื้นที่ 1 | พื้นที่ 2 | พื้นที่ 3 |
1,000 – 2,000 | 300 | 200 |
มากกว่า 2,000 – 5,000 | 600 | 300 |
มากกว่า 5,000 – 10,000 | 1,000 | 400 |
มากกว่า 10,000 | 2,000 | 600 |
หมายเหตุ:
พื้นที่ 1 หมายถึง จุดที่ให้ลูกจ้างทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน
พื้นที่ 2 หมายถึง บริเวณถัดจากที่ที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงานในรัศมีที่ลูกจ้างเอื้อมมือถึง
พื้นที่ 3 หมายถึง บริเวณโดยรอบที่ติดพื้นที่ 2 ที่มีการปฏิบัติงานของลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง
การออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับสถานประกอบการให้มีความเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและธุรกิจไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะมาตรฐานความเข้มของแสงสว่างตามกฎหมายที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและลดผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในระยะยาว
และสำหรับในพื้นที่สาธารณะอย่างลานจอดรถ หรือบริเวณประตูทางเข้า-ออก ที่ต้องมีการสัญจรไป-มาอยู่ตลอดเวลา การเลือกโคมไฟถนนที่มีคุณภาพสูง ทนทาน ประหยัดพลังงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้แสงสว่าง ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและต้นทุนค่าไฟฟ้า และเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ที่สัญจรในพื้นที่นั้น ๆ ได้อีกด้วย
Winner Light ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย พร้อมบริการติดตั้งเสาไฟถนน โคมไฟถนน เสาไฟถนนโซลาร์เซลล์ ที่ครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านแสงสว่างได้อย่างครอบคลุม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 02-415-7576-7, 081-880-6616
Website: www.winnerlight.co.th
Facebook: www.facebook.com/bangbonstation