แสงสว่าง นอกจากจะมีความสำคัญต่อผู้ใช้งานในด้านของการให้การมองเห็นแล้ว ยังช่วยในการสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับห้องต่าง ๆ การติดตั้งโคมไฟหรือระบบแสงสว่างให้ได้มาตรฐานโดยผ่านการออกแบบระบบแสงสว่างจากผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ได้แสงสว่างที่สวยงามและใช้งานได้จริงสำหรับทุกพื้นที่ อาทิ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ
ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกว่า การออกแบบแสงสว่าง หรือ Lighting Design คืออะไร มีหลักการในการออกแบบอย่างไรบ้าง รวมถึงปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนการออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสม
การออกแบบแสงสว่าง หรือ Lighting Design คืออะไร?
การออกแบบแสงสว่าง คือ กระบวนการวางแผนและคำนวณเพื่อหาค่าส่องสว่างที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิดแสง, เงาสะท้อนของพื้นผิว, ขนาดห้อง, โทนสีของผนังและเพดาน รวมถึงประเภทของแสงที่ต้องการ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานแสงสว่าง เพื่อให้ได้แสงสว่างที่เพียงพอต่อการใช้งาน และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมกับฟังก์ชันของพื้นที่นั้น ๆ
หลักการพื้นฐานของการออกแบบระบบส่องสว่าง
การออกแบบแสงสว่างจำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในส่วนของโคมไฟหรือหลอดไฟ เพื่อเลือกแหล่งกำเนิดแสงสว่างที่เหมาะสม ผู้ใช้ควรพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้ ได้แก่
ความสว่าง
ค่าแสงสว่าง (Lux) เป็นค่าที่ระบุปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อค่า Lux จะขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยภายใน เช่น ขนาดและชนิดของแหล่งกำเนิดแสง หรือปัจจัยภายนอกอย่างโทนสีภายในห้อง หรือมุมของแสงอาทิตย์
สีของแสง (Color Temperature)
อุณหภูมิสี หรือ Color Temperature เป็นค่าที่ระบุถึงโทนสีแสงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงนั้น ๆ ซึ่งแต่ละอุณหภูมิสีจะเหมาะกับการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น อุณหภูมิ Warm White จะมีโทนสีออกเหลือง-ส้ม ให้ความสว่างที่ไม่จ้าจนเกินไป นิยมใช้กับห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น
ดัชนีการแสดงสี (Color Rendering Index)
Color Rendering Index หรือ ดัชนีการแสดงสี เป็นตัวเลขที่ใช้ระบุว่า แหล่งกำเนิดแสงชนิดนั้นแสดงสีได้แม่นยำมากหรือน้อยเพียงใด โดยค่า CRI ที่นิยมใช้งานจะมีค่าตั้งแต่ 60 ขึ้นไป เพื่อให้การแสดงสีไม่ผิดเพี้ยน
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการออกแบบแสงสว่าง
Lighting Design คือหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การออกแบบแสงสว่างที่ดีจึงต้องพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้
ประเภทของพื้นที่
ควรประเมินว่าพื้นที่แต่ละส่วนต้องการแสงสว่างมากน้อยแค่ไหน และมีพื้นที่กว้างหรือแคบเพียงใด ซึ่งแต่ละพื้นที่จะต้องการความสว่างที่แตกต่างกันออกไป อาทิ
- พื้นที่อยู่อาศัย: โดยทั่วไปแล้ว พื้นที่อยู่อาศัยมักมีขนาดค่อนข้างจำกัด การออกแบบแสงสว่างให้มีค่าลักซ์สูงเกินไปอาจทำให้รู้สึกอึดอัดและเมื่อยล้าสายตาได้ โดยพื้นที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทจะแตกต่างกันไป เช่น ห้องนอนควรมีค่าความสว่างต่ำเพื่อผ่อนคลาย ส่วนห้องทำงานอาจต้องการค่าความสว่างที่สูงขึ้นเพื่อช่วยในการทำงาน
- พื้นที่ทำงาน: สำหรับอาคารสำนักงานหรือพื้นที่ทำงาน ควรติดตั้งโคมไฟหรือหลอดไฟที่ให้ความสว่างพอเหมาะ และให้แสงกระจายได้ดี ไม่เกิดเงามืดและแสงสะท้อน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
- พื้นที่สาธารณะ: พื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเดินถนน ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า สนามบิน จะใช้ค่าแสงสว่างเฉลี่ย 300 – 500 ลักซ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานมองเห็นบรรยากาศโดยรอบได้อย่างชัดเจน
- พื้นที่เฉพาะทาง (เช่น โรงงาน, โรงพยาบาล): ในโรงงานอุตสาหกรรม โกดังสินค้า หรือห้องผ่าตัดและห้องตรวจโรคในโรงพยาบาล เป็นพื้นที่ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัยและความแม่นยำในการปฏิบัติงานเป็นพิเศษ จึงต้องออกแบบระบบส่องสว่างให้มีความสว่างที่สูงกว่าพื้นที่ทั่วไป
กิจกรรมที่ทำในพื้นที่
นอกเหนือจากเรื่องขนาดและประเภทของพื้นที่ใช้งานแล้ว กิจกรรมที่ทำภายในห้องนั้น ๆ ก็ส่งผลต่อการออกแบบระบบแสงสว่างเช่นกัน เพราะบางกิจกรรมจำเป็นต้องใช้สายตาและสมาธิสูง จึงควรต้องออกแบบการจัดวางแสงสว่างให้เหมาะสม ดังนี้
การออกแบบแสงสว่างสำหรับพื้นที่อ่านหนังสือ
แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ หรือกระจายไม่สม่ำเสมอ เกิดเงาหรือจุดอับแสง จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าของสายตา ปวดตา และตาพร่ามัว การออกแบบระบบส่องสว่างสำหรับพื้นที่อ่านหนังสือจึงเน้นโคมไฟที่มี Beam Angle ค่อนข้างกว้าง เพื่อไม่ให้เกิดเงาบนตัวหนังสือที่ทำให้อ่านยากขึ้น หรือเลือกใช้ไฟโทนสีขาวนวลเพื่อให้อ่านหนังสือได้สบายตา
การออกแบบแสงสว่างสำหรับพื้นที่ทำงาน
พื้นที่ทำงานทั่วไป อาทิ ออฟฟิศ หรือ Co-Working Space ควรให้บรรยากาศที่ดูโปร่งโล่ง สบายตา โดยเลือกใช้ไฟโทนสี Neutral Light ร่วมกับการจัดแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ จะช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการทำงาน ส่วนพื้นที่ทำงานในอุตสาหกรรม เช่น ไลน์ผลิต หรือพื้นที่แพ็กของ ควรเน้นไฟที่มีองศาที่กว้างและมีความสว่างสูง เช่น โคมไฟไฮเบย์ High Bay เพื่อให้ความสว่างทั่วถึง
การออกแบบแสงสว่างสำหรับพื้นที่พักผ่อน
โดยส่วนใหญ่แล้วการออกแบบระบบแสงสว่างภายในห้องนอนจะหลีกเลี่ยงการใช้ไฟโทนสี Daylight ซึ่งมีแสงสีฟ้าที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และเลือกใช้หลอดไฟที่มีค่าลูเมนไม่สูงมาก หรืออาจมีการติดตั้ง Dimmer สำหรับหรี่แสง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและช่วยให้ร่างกายพร้อมสำหรับการพักผ่อน
ความสูงของเพดาน
ในพื้นที่อย่างคอนโดมิเนียม หอพัก หรือห้องขนาดเล็กที่มีขนาดเพดานต่ำ ควรเลือกโคมไฟที่มีขนาดกะทัดรัด ไม่บดบังสายตาเมื่อติดตั้ง เช่น โคมดาวน์ไลท์ฝังฝ้า หรือไฟเส้น LED สำหรับติดบริเวณหลืบทางเดิน ส่วนในพื้นที่มีความสูงของเพดานค่อนข้างมาก ควรเลือกโคมไฟที่มีขนาดใหญ่ และองศากระจายแสงกว้าง เช่น โคมไฟระย้า หรือโคมไฟเพดาน เพื่อให้ความสว่างกระจายทั่วถึง
สีห้อง
ผนังโทนสีอ่อน เช่น สีครีม สีขาว นอกจากจะให้บรรยากาศสไตล์มินิมอลแล้ว ยังช่วยสะท้อนแสงได้ดี ทำให้ห้องดูสว่างขึ้นและกว้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโคมไฟจำนวนมาก ส่วนผนังโทนเข้ม เช่น สีน้ำเงินเข้ม สีเทาเข้ม จะให้บรรยากาศที่ดูอบอุ่นและมีมิติมากขึ้น เหมาะกับสไตล์ Rustic หรือโมเดิร์น แต่สีเข้มจะดูดซับแสง ทำให้ห้องดูมืดลง ดังนั้นจึงต้องใช้แสงสว่างเพิ่มเติม เช่น โคมไฟที่มีค่าลูเมนสูง เพื่อให้ห้องสว่างเพียงพอและไม่รู้สึกอึดอัด
จะเห็นได้ว่าแม้การออกแบบระบบส่องสว่างจะมีหลักการพื้นฐานที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่การคำนวณและวางแผนเพื่อใช้งานจริงจำเป็นต้องใช้ความชำนาญของช่างหรือผู้ออกแบบเป็นอย่างมาก เพราะการติดตั้งโคมไฟและหลอดไฟบางชนิด เช่น ไฟฝังผนัง ไฟราง ที่ต้องมีการเจาะเพดานเพื่อยึดโคมไฟให้เป็นจุด ต้องมีการกะระยะและจัดตำแหน่งให้แม่นยำ เพราะหากเกิดผิดพลาดแล้วอาจจะเกิดความยุ่งยากในการแก้ไขได้
หากคุณกำลังวางแผนออกแบบและติดตั้งสำหรับงานภายในและภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะเป็น โคมไฟดาวน์ไลท์ โคมไฟสนาม โคมไฟถนน โคมไฟฟลัดไลท์ และอื่น ๆ ด้วยสินค้า LED คุณภาพสูง ปลอดภัย ได้มาตรฐานในการใช้งาน อย่าลืมเลือกใช้บริการจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายที่มีประสบการณ์ในงานแสงสว่างที่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้งานที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด
Winner Light ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย พร้อมบริการติดตั้งเสาไฟถนน โคมไฟถนน เสาไฟถนนโซลาร์เซลล์ ที่ครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านแสงสว่างได้อย่างครอบคลุม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 02-415-7576-7, 081-880-6616
Facebook: www.facebook.com/bangbonstation