การติดตั้งโคมไฟถนนมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนและสร้างบรรยากาศให้กับพื้นที่ต่าง ๆ ให้ดูสวยงาม แต่ทราบหรือไม่ว่าโคมไฟถนนนั้นมีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละแบบนั้นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นถนนในเขตชุมชน ทางหลวง หรือพื้นที่เฉพาะ เช่น สวนสาธารณะ ศาลาพักคอย ป้ายรถเมล์ หรือจุดที่มีความเสี่ยง เช่น ทางม้าลายสำหรับข้ามถนน เป็นต้น
ในบทความนี้เราจะพาไปเจาะลึกถึงรูปแบบการติดตั้งโคมไฟถนนแต่ละประเภท พร้อมทั้งข้อดีและข้อจำกัด รวมถึงค่าความสว่างที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งระบบแสงสว่างในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการที่สุด
รูปแบบในการติดตั้งโคมไฟถนน ควรติดตั้งเสาไฟแบบไหน ถึงจะเหมาะ
1. การติดตั้งเสาไฟถนน แบบกิ่งเดี่ยว ด้านเดียว (Single Side)
การเลือกใช้โคมไฟถนน สำหรับเสาไฟแบบกิ่งเดี่ยว ด้านเดียว จะขึ้นอยู่กับลักษณะและ ความกว้างของถนนเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้ว โคมไฟแบบนี้จะเหมาะกับถนนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- ถนนแคบ: การติดตั้งโคมไฟถนนแบบ Single Side เหมาะสำหรับถนนที่มีความกว้างไม่มาก เช่น ถนนภายในตรอก-ซอย หรือถนนสายรองที่มีการจราจรน้อย เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอโดยไม่รบกวนผู้อยู่อาศัย
- ทางเดินเท้า: ทางเดินเท้ามักมีพื้นที่แคบและอยู่ชิดกับอาคารบ้านเรือนฝั่งหนึ่ง การติดตั้งโคมไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยวจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากช่วยประหยัดพื้นที่และให้แสงสว่างตรงจุด
- ถนนที่มีสิ่งกีดขวาง: หากถนนมีสิ่งกีดขวาง การติดตั้งไฟถนนที่กระจายแสงมากเกินไปอาจทำให้เกิดเงาหรือจุดอับแสงได้ ดังนั้น โคมไฟแบบกิ่งเดี่ยวจึงช่วยลดการเกิดเงาและกระจายแสงเฉพาะพื้นที่ได้ดีกว่า
- พื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะจุด: นอกจากติดตั้งบนถนนแล้ว เสาไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยวยังเหมาะกับพื้นที่สาธารณะที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุด เช่น บริเวณจอดรถหรือจุดพักคอย เนื่องจากแสงจะเน้นเฉพาะพื้นที่โดยไม่กระจายเกินความจำเป็น
ข้อดีของการติดตั้งโคมไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยว Single Side
- ประหยัดพื้นที่: การติดตั้งไฟถนนประเภทนี้จะใช้พื้นที่น้อยกว่าประเภทอื่น ๆ เพราะโดยส่วนใหญ่เราจะติดตั้งไฟในฝั่งที่ติดกับอาคาร ทำให้อีกฝั่งถนนยังมีพื้นที่ว่างและไม่กีดขวางการสัญจร
- ทิศทางแสงเฉพาะเจาะจง: โคมไฟถนน Single Side ยังให้ทิศทางแสงที่เฉพาะเจาะจง เหมาะกับสถานที่ที่ต้องการเน้นแสงเฉพาะจุดเพื่อสร้างความปลอดภัย
- ต้นทุนต่ำ: นอกจากเรื่องของประสิทธิภาพแล้ว เสาไฟถนนประเภทนี้ยังช่วยประหยัดต้นทุนการติดตั้ง เพราะใช้ปริมาณเสาไฟน้อยกว่า หรือบางครั้งหากเป็นการติดตั้งโคมไฟถนน LED บนผนัง ก็จะไม่ต้องลงทุนกับตัวเสาไฟถนนเลย

2. การติดตั้งเสาไฟถนน แบบกิ่งเดี่ยว ตรงข้ามกันทั้งสองด้าน (Opposite Both Sides)
โคมไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยว ตรงข้ามกันทั้งสองด้าน ออกแบบมาเพื่อให้แสงสว่างครอบคลุมทั้งสองฝั่งของถนนได้อย่างทั่วถึง ทำให้เหมาะกับการติดตั้งบน ถนนที่มีความกว้างมาก เช่น
- ถนนหลวง: ถนนหลวงเป็นถนนหลักที่มีการจราจรต่อเนื่องและเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด จึงจำเป็นต้องมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง
- ถนนในเมือง: โดยทั่วไปการจราจรในเมืองจะค่อนข้างหนาแน่น โคมไฟถนนจึงควรให้แสงสว่างที่ชัดเจน เพื่อช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในพื้นที่ที่อาจถูกบดบังจากรถจำนวนมาก
- ทางด่วน: รถบนทางด่วนมักใช้ความเร็วสูง การติดตั้งโคมไฟถนนจึงต้องให้แสงสว่างที่เพียงพอในทุกจุด โดยเฉพาะในพื้นที่อับแสง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
ข้อดีของการติดตั้งโคมไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยว Opposite Both Sides
- ให้แสงสว่างครอบคลุม: การติดตั้งโคมไฟถนน LED ตลอดทั้งสองฝั่งของถนนช่วยให้แสงสว่างกระจายตัวได้กว้างและครอบคลุมพื้นที่การใช้งานมากกว่าการติดตั้งเฉพาะฝั่งเดียว
- เพิ่มความปลอดภัย: แสงสว่างที่เพียงพอช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถกะระยะได้อย่างแม่นยำ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- ลดจุดอับแสง: ถนนที่มีพื้นที่กว้างอาจเกิดจุดอับแสงได้ง่ายหากแสงส่องไม่ทั่วถึง การติดตั้งโคมไฟถนนแบบ Opposite Both Sides จะช่วยลดจุดอับแสงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งเสาไฟแบบฝั่งเดียว
- เพิ่มทัศนวิสัย: การติดตั้งโคมไฟถนนตลอดสองฝั่งยังช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในเวลากลางคืน เพราะผู้ขับขี่สามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางหรือสิ่งรอบข้างได้ชัดเจน ช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

3. การติดตั้งเสาไฟถนน แบบกิ่งเดี่ยว ติดสลับกัน (Staggered Both Sides)
การติดตั้งเสาไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยว ติดสลับกัน หรือ Staggered Both Sides นั้นเป็นวิธีการติดตั้งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากให้แสงสว่างที่กระจายตัวได้ดีและลดจุดอับแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหมาะกับการใช้งานบนถนนหลากหลายประเภท โดยเฉพาะถนนที่มีลักษณะดังนี้
- ถนนในเมือง: การติดตั้งไฟแบบติดสลับสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมหลากหลายรูปแบบได้ดีกว่าการติดตั้งแบบตรงข้าม จึงเป็นตัวเลือกที่นิยมในพื้นที่เมือง
- ถนนหมู่บ้าน: ถนนในหมู่บ้านมักมีผู้คนเดินสัญจรอยู่ตลอดเวลา จึงควรมีความสว่างที่เพียงพอในเวลากลางคืนเพื่อป้องกันเหตุอาชญากรรมแก่ลูกบ้าน การติดตั้งเสาไฟแบบติดสลับจะเกิดมุมอับแสงน้อยกว่า และเพิ่มความปลอดภัยได้ดีกว่า
- ทางเดินเท้า: ทางเดินเท้าที่มีความกว้างและไม่สามารถติดตั้งเพียงเสาไฟแบบกิ่งเดี่ยวด้านเดียวได้ อาจพิจารณาการติดตั้งแบบติดสลับกันเพื่อให้แสงสว่างที่กระจายทั่วถึง และไม่จ้าเกินไปจนเป็นมลพิษทางสายตา
- ถนนที่มีต้นไม้: ในบางครั้งสองข้างถนนอาจมีต้นไม้ใหญ่กีดขวาง การออกแบบเสาไฟถนนแบบติดสลับกันจะช่วยให้โคมไฟสามารถกระจายแสงได้อย่างเหมาะสม
- ถนนที่มีความโค้ง: ถนนโค้งที่ติดตั้งไฟแบบตรงข้ามกันอาจให้แสงไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากความไม่ขนานของมุมไฟ การติดตั้งแบบติดสลับช่วยเพิ่มความเสถียรของแสงในพื้นที่ดังกล่าว
ข้อดีของการติดตั้งโคมไฟถนนแบบกิ่งเดี่ยว Staggered Both Sides
- แสงสว่างกระจายตัวดี: การติดตั้งโคมไฟถนน LED แบบติดสลับจะทำให้มุมแสงกระจายตัวได้ดี และลดมุมอับแสง ให้แสงสว่างได้ทั่วถึงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประหยัดพื้นที่: เสาไฟถนนแบบติดสลับช่วยลดความถี่ในการติดตั้งเสาไฟในแนวเดียวกัน โดยยังคงให้ความสว่างที่เพียงพอต่อการใช้งาน
- ลดความสว่างรบกวน: แสงสว่างที่ได้จากเสาไฟประเภทนี้จะกระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เกิดมุมแสงที่ซ้อนทับกันหรือสว่างมากเกินไปจนรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
- เหมาะกับถนนขนาดกลาง: การออกแบบเสาไฟในลักษณะนี้ยังเหมาะกับถนนขนาดกลาง (2 – 3 เลน) มากกว่า เมื่อเทียบกับการติดตั้งไฟถนนแบบด้านเดียวที่อาจให้แสงสว่างไม่ทั่วถึง
- เพิ่มความปลอดภัย: แสงไฟจากโคมไฟถนนแบบติดสลับจะเกิดมุมอับแสงน้อย ให้แสงสว่างทั่วถึง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้สัญจรไปมา
- เป็นระเบียบ สวยงาม: การจัดวางเสาไฟแบบสลับทำให้พื้นที่ดูเป็นระเบียบและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังปรับการติดตั้งให้เหมาะกับพื้นที่ต่าง ๆ ได้ง่าย
4. การติดตั้งเสาไฟถนน แบบกิ่งคู่ (Central Twin)
การเลือกใช้โคมไฟถนน สำหรับเสาไฟถนน แบบกิ่งคู่ Central Twin นั้นออกแบบมาเพื่อให้แสงสว่างครอบคลุมทั้งสองฝั่งของถนนได้อย่างทั่วถึง ทำให้เหมาะกับการติดตั้งบน ถนนที่มีความกว้างมาก และมี เกาะกลาง คั่น โดยเฉพาะถนนที่มีลักษณะดังนี้
- ถนนหลวง: ถนนหลวงที่เดินทางเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัด รถมักจะวิ่งด้วยความเร็วสูง จึงต้องการแสงสว่างที่เพียงพอ เสาไฟถนนแบบกิ่งคู่สามารถให้แสงสว่างได้ตลอดทั้งสองฝั่งถนน จึงนิยมในการติดตั้งมากกว่าเสาไฟประเภทอื่น
- ทางด่วน: โดยปกติแล้วบนทางพิเศษจะขับขี่ด้วยความเร็วสูง โดยเฉพาะในช่องทางขวาสุด โคมไฟถนนแบบกิ่งคู่ที่ติดตั้งตรงเกาะกลางถนนจะช่วยให้แสงสว่างกระจายทั่วถนนอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ และ ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นสภาพถนนและสิ่งกีดขวางได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- ถนนในเมือง: ถนนในเมืองมักมีการจราจรที่หนาแน่น และจำนวนเลนที่ค่อนข้างกว้าง (3–4 เลนขึ้นไป) โคมไฟถนนแบบกิ่งคู่จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้แสงสว่างในวงกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งถนนได้ดี
ข้อดีของการติดตั้งโคมไฟถนน แบบกิ่งคู่ central twin
- ให้แสงสว่างครอบคลุม: โคมไฟถนนแบบกิ่งคู่ (Central Twin) สามารถกระจายแสงสว่างครอบคลุมทั้งสองฝั่งถนนได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการติดตั้งร่วมกับโคมไฟถนน LED ซึ่งช่วยเพิ่มความสว่างและประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มความปลอดภัย: เสาไฟถนนแบบกิ่งคู่ให้แสงสว่างที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับเสาไฟกิ่งเดี่ยว ช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในช่วงกลางคืน สร้างความปลอดภัยในการขับขี่และลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
- เพิ่มความสวยงาม: การออกแบบโคมไฟถนนแบบกิ่งคู่ช่วยประหยัดพื้นที่ สามารถติดตั้งได้อย่างลงตัว ไม่เกะกะสายตา พร้อมทั้งเพิ่มความสวยงามและความเป็นระเบียบให้กับพื้นที่ถนน

5. การติดตั้งเสาไฟถนน แบบเสาสูง (High Mast)
โคมไฟถนนแบบเสาสูง หรือ High Mast นั้นออกแบบมาเพื่อให้แสงสว่างครอบคลุมพื้นที่กว้าง ทำให้เหมาะกับการติดตั้งใน พื้นที่ขนาดใหญ่และเปิดโล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ต่อไปนี้
- พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่: ไฟถนนแบบเสาสูงนิยมใช้งานในพื้นที่สนามบิน สวนสาธารณะขนาดใหญ่ สนามกีฬา ที่มีความกว้างเป็นพิเศษและต้องการระยะองศาแสงที่ครอบคลุมเพียงพอ
- ทางแยกที่สำคัญ: บริเวณทางแยกเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง การติดตั้งเสาไฟถนนแบบไฮแมสที่สามารถให้แสงสว่างในวงกว้างจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและทัศนวิสัยในเวลากลางคืน
- บริเวณรอบนอกเมือง: บริเวณรอบนอกเมืองมักเป็นพื้นที่โล่งและมีถนนตัดผ่านน้อย การติดตั้งเสาไฟแบบกิ่งอาจไม่เหมาะสม เสาไฟถนนแบบเสาสูงจึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการให้แสงสว่างในพื้นที่เปิดโล่ง
- พื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูง: โคมไฟแบบไฮแมสยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่เน้นความปลอดภัย เช่น คลังสินค้า โรงงานผลิต ลานจอดรถ และพื้นที่สาธารณะที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เพราะสามารถให้แสงสว่างทั่วพื้นที่ และปรับองศาของโคมไฟได้ตามความเหมาะสม
ข้อดีของการติดตั้งโคมไฟถนน แบบเสาสูง High Mast
- ให้แสงสว่างครอบคลุม: เสาไฟไฮแมสหนึ่งต้นสามารถติดตั้งโคมไฟได้มากกว่าหนึ่งดวง และแต่ละดวงโคมยังสามารถปรับความสว่าง การทำมุมได้ตามเหมาะสม จึงสามารถให้แสงสว่างได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
- เพิ่มทัศนวิสัย: การติดตั้งไฟถนนแบบเสาสูงช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในพื้นที่เปิดโล่ง เช่น ลานจอดเครื่องบิน พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม และพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
- ลดจุดอับแสง: โคมไฟถนนไฮแมสมีมุมกระจายแสงที่กว้างมาก ทำให้แสงตกกระทบได้ทั่วถึงและเกิดจุดอับแสงน้อยกว่า
- เหมาะสำหรับพื้นที่เปิดโล่ง: เสาไฟถนนแบบเสาสูงเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่เปิดโล่ง เนื่องจากติดตั้งสะดวก ช่วยกระจายแสงสว่างได้ไกล และให้ประสิทธิภาพดีกว่าเสาไฟถนนทั่วไป
- ลดจำนวนเสาไฟ: การติดตั้งโคมไฟถนนไฮแมสเพียงเสาเดียวสามารถให้แสงสว่างได้อย่างเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเสาไฟหลายต้น ส่งผลให้พื้นที่ดูโปร่ง โล่ง สบายตา และยังช่วยลดต้นทุนการติดตั้งและบำรุงรักษา

ค่าความสว่างที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งไฟถนน
นอกจากเรื่องของรูปแบบการจัดวางเสาไฟแล้ว เรื่องของประเภทโคมไฟและค่าแสงสว่างที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ได้ความสว่างที่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยถนนแต่ละประเภทจะมีค่าแสงสว่างขั้นต่ำกำหนดไว้ดังนี้
ประเภทถนน | ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (lux) |
1. ถนนสายหลัก | 15 |
2. ถนนสายรอง | 10 |
3. ทางแยก | 22 |
4. วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร | 15 |
ค่าความสว่างที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่สาธารณะ
การติดตั้งไฟถนนในพื้นที่สาธารณะ ถือเป็นสิ่งที่ประชาชนควรได้รับ เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยเมื่อต้องใช้งานพื้นที่นั้น ๆ ในเวลากลางคืน โดยในพื้นที่สาธารณะแต่ละประเภทได้มีการกำหนดค่าแสงสว่างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการใช้งานตามตารางนี้
ประเภทพื้นที่ | ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (lux) |
1. สวนสาธารณะ | 10 |
2. ในตลาด (ในอาคาร) | 100 |
3. ลานตลาด (นอกอาคาร) | 30 |
4. สนามเด็กเล่น | 50 |
5. ลานจอดรถสาธารณะ | 15 |
6. ลานกีฬาชุมชน | 50 |
7. สะพาน | 30 |
8. สะพานลอยคนข้าม | 15 |
9. ทางเดินเท้า (ฟุตพาท) | 7 |
10. ทางม้าลาย | 45 |
11. ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง | 30 |
12. ป้ายจอดรถประจำทาง (ไม่มีศาลา) | 7 |
หรือหากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงในการเกิดเหตุอาชญากรรมสูง สามารถพิจารณาเพิ่มโคมไฟส่องสว่างเพื่อความปลอดภัยได้ตามเหมาะสม
การติดตั้งโคมไฟถนนถือเป็นหนึ่งในระบบสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชาชน เนื่องจากช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางสัญจร และสร้างบรรยากาศที่ดีในช่วงเวลากลางคืน การติดตั้งเสาไฟถนนให้ถูกต้องตามมาตรฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรเลือกใช้รูปแบบการติดตั้งที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ และขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านแสงสว่าง
นอกจากนี้ ในปัจจุบันหลายโครงการเริ่มหันมาใช้การติดตั้งโคมไฟถนน LED ที่มีประสิทธิภาพการให้แสงสว่างและอายุใช้งานสูงกว่าโคมไฟถนนแบบเดิมมากขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและลดการใช้พลังงานในระยะยาว การเลือกโคมไฟถนน LED จากผู้ผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน จะช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ มั่นใจในความปลอดภัยและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
Winner Light ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย พร้อมบริการติดตั้งเสาไฟถนน โคมไฟถนน เสาไฟถนนโซลาร์เซลล์ ที่ครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านแสงสว่างได้อย่างครอบคลุม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 02-415-7576-7, 081-880-6616
Facebook: www.facebook.com/bangbonstation