รู้หรือไม่? โคมไฟถนนใช้หลอดอะไร พร้อมข้อมูลแต่ละประเภท

ภาพปกบทความโคมไฟถนนใช้หลอดอะไร

โคมไฟถนนเป็นหนึ่งในสาธารณูปโภคที่จำเป็นสำหรับประชาชน เพื่อให้แสงสว่างแก่พื้นที่ต่าง ๆ ในยามค่ำคืน โดยภายในโคมไฟถนนจะมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง “หลอดไฟ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้แสงสว่าง หลอดไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท เช่น หลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดความดันสูง หลอด LED และหลอดชนิดอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะและความเหมาะสมของพื้นที่

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่าโคมไฟถนนใช้หลอดอะไร หลอดไฟแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร และปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกชนิดของโคมไฟถนนและหลอดไฟให้เหมาะสมที่สุด

โคมไฟถนนใช้หลอดอะไรบ้าง มีกี่ประเภท

1. หลอดเอชไอดี (HID)

หลอดไฟความดันสูงหรือหลอด HID (High Intensity Discharge) เป็นหลอดไฟประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไส้หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วไป หลักการทำงานของหลอด HID คือ การปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงผ่านก๊าซที่บรรจุอยู่ในหลอด ทำให้เกิดพลาสมาและปล่อยแสงออกมา เป็นหลอดไฟที่นิยมใช้เป็นไฟถนนเพราะมีอายุใช้งานที่ยาวนาน ให้แสงสว่างจ้า และสีที่ถูกต้องแม่นยำ แต่มีข้อเสียคือราคาแพง และมีขนาดใหญ่

2. หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide)

หลอดเมทัลฮาไลด์เป็นหนึ่งในประเภทของหลอดไฟความดันสูง ทำงานโดยการจุดประกายไฟฟ้าในหลอดไฟ เพื่อให้ก๊าซเฉื่อยและปรอทที่อยู่ในหลอดระเหยเป็นไอ และปล่อยรังสี UV สารประกอบโลหะฮาไลด์ภายในจะดูดซับรังสี UV และเปล่งแสงสว่างสีขาวที่มีสีใกล้เคียงแสงแดดธรรมชาติ แต่มีข้อเสียคือมีส่วนประกอบของสารปรอทซึ่งเป็นสารพิษ หากหลอดแตกอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

3. หลอดแอลอีดี (LED)

หลอด LED หรือ Light Emitting Diode เป็นหลอดไฟที่ทำงานโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านไดโอดหรืออุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทำให้เกิดการเปล่งแสง โดยสีของแสงที่ได้จะขึ้นอยู่กับประเภทของสารกึ่งตัวนำที่ใช้ มีจุดเด่นในเรื่องของอัตราการประหยัดพลังงาน ใช้เวลาในการเปิดน้อย สร้างความร้อนน้อยกว่า ไม่ต้องอุ่นหลอดไฟเหมือนหลอดประเภทอื่น และมีอายุใช้งานที่ยาวนาน ไม่ต้องเปลี่ยนหรือบำรุงรักษาบ่อยครั้ง

โคมไฟถนนใช้หลอด LED

4. หลอดไส้ (Incandescent)

หลอดไส้ เป็นหลอดไฟที่เคยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอดีต เนื่องจากมีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย โครงสร้างภายในประกอบด้วยไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน ซึ่งจะเปล่งแสงเมื่อได้รับความร้อนสูง อย่างไรก็ตาม หลอดไส้มีข้อเสียที่สำคัญ คือ อายุการใช้งานสั้น เนื่องจากความร้อนสูงทำให้ไส้หลอดเสื่อมสภาพได้เร็ว อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการส่องสว่างต่ำ เมื่อเทียบกับหลอดไฟรุ่นใหม่ ๆ เช่น หลอด LED หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ด้วยเหตุนี้ หลอดไส้จึงนิยมใช้งานลดลงในปัจจุบัน

5. หลอดฮาโลเจน (Halogen)

หลอดฮาโลเจน เป็นหลอดไฟที่พัฒนามาจากหลอดไส้ โดยบรรจุสารในกลุ่มก๊าซฮาโลเจน อาทิ ไอโอดีน โบรมีน ที่ช่วยในการป้องกันการระเหิดตัวของไส้หลอด ทำให้ยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น สามารถใช้งานได้นานกว่าหลอดไส้ปกติ 2-3 เท่า รวมถึงให้แสงสว่างจ้าที่มีคุณภาพสูง แต่ข้อเสียที่สำคัญคือเกิดความร้อนสูงมาก หากใช้ในระยะนานเกินไปอาจทำให้หลอดไหม้ได้

6. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent)

หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดไฟที่เคยได้รับความนิยมใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะมีขนาดกะทัดรัด อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ และประหยัดพลังงานมากกว่า เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่กว้าง เช่น สำนักงาน โรงงาน อย่างไรก็ตาม หลอดฟลูออเรสเซนต์มีข้อจำกัดเรื่องสารปรอท ซึ่งเป็นอันตรายหากหลอดแตก และไม่สามารถหรี่แสงได้

โคมไฟถนนใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ที่เคยได้รับความนิยมในอดีต

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกหลอดไฟสำหรับโคมไฟถนน

  • ประเภทของหลอดไฟ

หลอดไฟถนนในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น หลอด HID และหลอดเมทัลฮาไลด์ ให้แสงสว่างที่สว่างจ้าและมีสีที่ใกล้เคียงธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างสูง เช่น ถนนสายหลัก หรือสนามกีฬา แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่าหลอดประเภทอื่น ขณะที่หลอด LED มีอายุการใช้งานยาวนาน ประหยัดพลังงาน และให้แสงสว่างที่ปรับได้หลากหลายสี เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่กว้างหรือพื้นที่ที่ต้องการควบคุมแสงสว่างได้

  • ค่าแสงสว่างและปริมาณแสง (Lux & Lumen)

ไฟถนนที่มีความกว้าง เช่น ไฟถนนหลวงหรือไฟทางด่วน จำเป็นต้องใช้หลอดไฟที่มีค่าลูเมน (Lumen) สูง เพื่อให้สามารถให้แสงสว่างเพียงพอต่อการใช้งานบนถนน นอกจากนี้ การออกแบบแสงสว่างควรคำนึงถึงค่า ลักซ์ (lux) หรือค่าแสงสว่างเฉลี่ยต่อตารางเมตรบนพื้นผิวถนน และเปรียบเทียบกับมาตรฐานความสว่างไฟถนนที่กำหนดโดยกรมทางหลวง เพื่อให้ได้แสงที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการใช้งาน

  • อุณหภูมิสี (Color Temperature)

การเลือกอุณหภูมิสีที่เหมาะสมสำหรับโคมไฟถนนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลต่อการมองเห็น ความปลอดภัย และบรรยากาศโดยรวมของพื้นที่ โดยทั่วไป ไฟถนนจะนิยมใช้โทนสีเหลือง-ส้ม (Warm White) เนื่องจากจะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในสภาพอากาศที่มีฝนตกหรือหมอกควัน อย่างไรก็ตาม แสงสีขาว (Neutral White) ก็มีข้อดีคือให้ความสว่างชัดเจน เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น ถนนสายหลัก

  • ดัชนีการแสดงสี (Color Rendering Index: CRI)

หลอดไฟบางประเภท เช่น หลอดโซเดียมความดันต่ำ แม้จะให้แสงสว่างจ้า แต่มีค่าดัชนีการแสดงสี (CRI) ต่ำ ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นสีผิดเพี้ยนได้ การเลือกหลอดไฟที่ให้แสงสว่างจ้าและมีค่าดัชนีการแสดงสีสูง (CRI มากกว่า 70) เช่น หลอด LED, หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดเมทัลฮาไลด์ จะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ บนถนนได้ชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น

  • มุมกระจายแสง

ควรเลือกหลอดไฟที่มี Beam Angle ไม่สูงมาก (ประมาณ 60 องศา) เพื่อให้แสงสว่างตกกระทบในพื้นที่ที่ต้องการอย่างครอบคลุม นอกจากนี้ ควรเลือกประเภทของโคมไฟแบบ Cut-Off ที่สามารถควบคุมแนวลำแสงไม่ให้กระจายออกด้านบนเหนือโคมไฟ ช่วยลดการเกิดแสงจ้าที่รบกวนสายตาผู้ขับขี่

มุมกระจายแสงหนึ่งในปัจจัยที่ต้องพิจารณา นอกจากชนิดของโคมไฟถนน
  • อายุการใช้งาน

เนื่องจากโคมไฟถนนมักติดตั้งในที่สูงหรือบริเวณที่มีความเสี่ยง เช่น บนถนนหลวง ทางด่วนพิเศษ หรือพื้นที่ในสนามบิน การเลือกใช้หลอดไฟที่มีอายุการใช้งานยาวนานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยลดความถี่ในการเปลี่ยนหรือซ่อมแซม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้แสงสว่างทำงานได้ต่อเนื่องแล้ว ยังลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสำหรับช่างที่ต้องปฏิบัติงานอีกด้วย

  • ค่าใช้จ่ายและราคา

แม้ว่าหลอดบางประเภท เช่น หลอดไส้ อาจมีราคาถูก แต่ด้วยประสิทธิภาพที่ต่ำ จึงอาจสิ้นเปลืองพลังงานในระยะยาวมากกว่า การเลือกหลอดไฟสำหรับโคมไฟถนนไม่ควรพิจารณาเพียงราคาหลอดไฟเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษา และอายุการใช้งาน เพื่อให้ได้หลอดไฟที่คุ้มค่าในระยะยาว

สรุปแล้ว การติดตั้งโคมไฟถนนใช้หลอดอะไรจึงจะเหมาะสมนั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานในแต่ละพื้นที่ โดยในปัจจุบันผู้คนนิยมหันมาใช้งานโคมไฟถนน LED มากขึ้น เนื่องจากมีคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพ อายุใช้งาน และการประหยัดพลังงานที่ดีกว่าโคมไฟถนนรูปแบบเดิม ดังนั้น ก่อนการติดตั้ง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านแสงสว่างเพื่อให้ได้ระบบที่เหมาะสมทั้งในด้านประสิทธิภาพและความสวยงาม

นอกจากนี้ การเลือกผลิตภัณฑ์โคมไฟถนน LED เช่น โคมไฟดาวน์ไลท์ โคมไฟสนาม โคมไฟถนน โคมไฟฟลัดไลท์ ฯลฯ ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานชั้นนำ จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่างานระบบแสงสว่างที่ได้จะมีความปลอดภัย มีอายุใช้งานยาวนาน และคุ้มค่ากับการลงทุน

Winner Light ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย พร้อมบริการติดตั้งเสาไฟถนน โคมไฟถนน เสาไฟถนนโซลาร์เซลล์ ที่ครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านแสงสว่างได้อย่างครอบคลุม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 02-415-7576-7, 081-880-6616
Facebook: www.facebook.com/bangbonstation